บทความที่คล้ายกัน
-
สมุนไพร คลายความร้อน สดชื่น ชื่นใจ
เภสัชกรรมไทย ·7 พ.ค. 2567
-
โรคมะเร็งกับกัญชาทางการแพทย์
เภสัชกรรมไทย ·24 พ.ค. 2566
-
การเลือกใช้ยาสมุนไพร
เภสัชกรรมไทย ·16 ต.ค. 2561
-
ฟ้าทะลายโจร” กับอาการไอ
เภสัชกรรมไทย ·8 มิ.ย. 2561
-
ใช้สมุนไพรอย่างไรให้ปลอดภัย
เภสัชกรรมไทย ·28 ธ.ค. 2560
“ตรีผลา”กับการลดไขมัน
ตรีผลา
คือตำรับยาสมุนไพรที่มีการใช้มาตั้งแต่สมัยพุทธกาล จริงๆแล้วความหมายตามตัวคือ ผลไม้ ทั้ง 3 อย่าง(ตรี=3, ผลา=ผล) ประกอบด้วย สมอไทย, สมอภิเภก, มะขามป้อม ในอดีตใช้กันอย่างแพร่หลาย “ตรีผลา” ตามคัมภีร์ทางแพทย์แผนไทย เป็นตำรับยาสมุนไพรที่ใช้ในฤดูร้อน สรรพคุณหลักๆคือ ช่วยปรับธาตุปรับสมดุลของร่างกาย มีสารต้านอนุมูลอิสระ มีฤทธิ์ต่อต้านและยับยั้งเซลล์มะเร็ง เป็นยาอายุวัฒนะเพื่อการบำรุงร่างกาย ช่วยระบบการขับถ่ายให้ดีขึ้น เป็นต้น และปัจจุบันมีการศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมถึงสรรพคุณและสารประกอบต่างๆในตำรับยาตรีผลามากขึ้น มีงานวิจัยทางการแพทย์หลายฉบับทั้งของประเทศไทยเองและต่างประเทศ พบว่าสรรพคุณที่น่าสนใจอีกอย่างหนึ่งของยาตำรับนี้คือ การลดไขมันในเลือด ปัจจุบันก็ได้รับความสนใจมากขึ้นเรื่อยๆ และมีขายกันอย่างแพร่หลายตามท้องตลาดตำรับยา “ตรีผลา” ประกอบด้วยสมุนไพร 3 อย่าง และแต่ละอย่างมีสรรพคุณอย่างไรบ้าง?
- สมอไทย มีรสเปรี้ยวฝาดขมอ่อนๆ เป็นยาระบายอ่อนๆบรรเทาอาการท้องผูก แก้ไอแก้เจ็บคอได้ ระบายพิษไข้ บำรุงน้ำดี สมานแผลในกระเพาะอาหารได้
- สมอพิเภก มีรสเปรี้ยวฝาดหวานเป็นยาระบาย บำรุงธาตุ แก้เสมหะในปากในคอ ผลห่ามสมอพิเภกมีน้ำมันคล้ายน้ำมันระหุ่ง ใช้เป็นยาถ่ายยาระบายได้ ส่วนผลสุก มีส่วนในการทำงานของน้ำดี ช่วยระบบย่อย อาหารได้เหมือนกัน
- มะขามป้อม มีรสเปรี้ยวฝาดขม ช่วยในการแก้ไอขับเสมหะ สมานแผลในปากในคอ แก้ร้อนในกระหายน้ำ แถมยังมีวิตามินซีสูงด้วย
จากการศึกษางานวิจัย มีงานวิจัยเกี่ยวกับสมุนไพรตำรับ “ตรีผลา” ออกมาอย่างมากมายซึ่งส่วนใหญ่ผลออกมาในทิศทางเดียวกันทั้งห้องปฏิบัติการสัตว์ทดลอง และมนุษย์ กล่าวคือ ในการทดลอง ให้รับประทานยาตรีผลา 1,000 มิลลิกรัม ต่อวัน ทุกวัน เป็นเวลา 1 เดือน พบว่าระดับของไตรกลีเซอไรด์ โคเลสเตอรอลแอลดีแอล(ไขมันชนิดไม่ดี) และโคเลสเตอรอลรวม ลดลงอย่างมีนัยสำคัญ อาจมีผลข้างเคียง เช่น ถ่ายเหลวบ้าง เนื่องจากยาส่วนใหญ่มีฤทธิ์ระบายอ่อนๆ แต่ไม่มีรายงานความเป็นพิษต่อตับและไต
ยาตำรับนี้มีสรรพคุณมากมาย ทั้งช่วยในการขับถ่าย ต้านอนุมูลอิสระ และช่วยลดไขมันในเลือด แต่ถึงกระนั้นมันก็ยังเป็นยา ไม่ควรรับประทานติดต่อกันเป็นเวลานาน เพราะอาจมีผลข้างเคียงในเรื่องของการขับถ่ายได้ การรับประทานยาควรอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์แผนไทย แต่อย่างไรก็ดีการรับประทานอาหารให้เป็นยาคือสิ่งที่ดีที่สุด หรือระมัดระวังในเรื่องของการรับประทานอาหาร เนื่องจากโรคนี้เกิดจากการรับประทานอาหารของเรานั่นเอง
บทความโดย นายคมจักร แก้วน้อย แพทย์แผนไทยประยุกต์ โรงพยาบาลการแพทย์แผนไทยสงขลานครินทร์