ปรัชญาของหลักสูตรการแพทย์แผนไทยบัณฑิต
เพื่อผลิตบัณฑิตแพทย์แผนไทย ที่มีทักษะปฏิบัติด้านส่งเสริม ป้องกัน รักษา และฟื้นฟู สุขภาพของประชาชนแบบองค์รวม ภายใต้จรรยาบรรณวิชาชีพ ใฝ่เรียนรู้และเปิดรับการเปลี่ยนแปลง สามารถคิดวิเคราะห์ ประยุกต์ความรู้วิชาชีพกับศาสตร์อื่นเพื่อแก้ไขปัญหาในการบริการผ่านกระบวนการเรียนรู้ตามแนวทางพิพัฒนาการนิยมวัตถุประสงค์ของหลักสูตร
- วัตถุประสงค์ทั่วไป เพื่อผลิตบัณฑิตให้มีคุณลักษณะต่อไปนี้
- 1.1 มีคุณธรรมจริยธรรมในการดำรงชีวิต และจรรยาบรรณในวิชาชีพ
- 1.2 มีความสามารถในการสื่อสาร การปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นและทำงานกับสหวิชาชีพได้
- 1.3 มีทักษะในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ประเมินสารสนเทศ เพื่อการปฏิบัติงานในวิชาชีพการแพทย์แผนไทย
- วัตถุประสงค์เฉพาะ เพื่อผลิตบัณฑิตให้มีคุณลักษณะต่อไปนี้
- 2.1 มีความรู้ความสามารถและทักษะทางการแพทย์แผนไทย และสามารถบูรณาการความรู้ด้านการแพทย์แผนปัจจุบันและวิทยาศาสตร์สุขภาพ เพื่อประสิทธิภาพในบริการทางการแพทย์แผนไทย
- 2.2 มีความรู้ความเข้าใจในกระบวนการวิจัยสามารถสร้างผลงานวิจัยหรือนวัตกรรมทางการแพทย์แผนไทยได้
- 2.3 สามารถคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ เพื่อแก้ไขปัญหาทางวิชาชีพอย่างเหมาะสมตระหนักรู้ในจุดอ่อนของตน ใฝ่เรียนรู้และสามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง
- 2.4 มีอัตลักษณ์ทางวิชาชีพในการดูแลรักษาผู้ป่วยกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง และการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ
สาระความรู้ที่เรียน ประกอบด้วย 4 หลักวิชาด้านการแพทย์แผนไทย ดังนี้
- 1.เวชกรรมไทย:
- เกี่ยวกับการตรวจโรค การหาสาเหตุของการเกิดโรค การวางแผนการรักษาโรค และการตั้งตำรับยารักษาโรค
- 2.เภสัชกรรมไทย:
- เกี่ยวกับเภสัชวัตถุ สรรพคุณเภสัช คณาเภสัช และเภสัชกรรม (การปรุงยาแผนไทย)
- 3.การผดุงครรภ์ไทย:
- เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพแม่และเด็ก ทั้งก่อน-ระหว่าง-หลังคลอด
- 4.การนวดไทย:
- เกี่ยวกับการนวดพื้นฐาน นวดราชสำนัก นวดเพื่อการรักษา นวดไทยทักษิณ นวดบริการสุขภาพ
โครงสร้างหลักสูตร
หลักสูตรการแพทย์แผนไทยบัณฑิต เป็นหลักสูตร 4 ปี วุฒิที่ได้รับ คือ พท.บ.โครงสร้างหลักสูตรการแพทย์แผนไทยบัณฑิต หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2563
หลักสูตร พท.บ. หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2563 | หน่วยกิต |
---|---|
หน่วยกิตตลอดหลักสูตร | 146 |
1.หมวดวิชาศึกษาทั่วไป
|
30
|
2.หมวดวิชาเฉพาะ
|
110
|
3.หมวดวิชาเลือกเสรี | 6 |
โครงสร้างหลักสูตรการแพทย์แผนไทยบัณฑิต หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2559
หลักสูตร พท.บ. หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2559 | หน่วยกิต |
---|---|
หน่วยกิตตลอดหลักสูตร | 151 |
1.หมวดวิชาศึกษาทั่วไป
|
30
|
2.หมวดวิชาเฉพาะ
|
115
|
3.หมวดวิชาเลือกเสรี | 6 |

ผลลัพท์การเรียนรู้ที่คาดหวังของหลักสูตรการแพทย์แผนไทยบัณฑิต หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ.2563
- PLO 1 TTM Health service - บริการวิชาชีพการแพทย์แผนไทยตามมาตรฐานวิชาชีพ อย่างมีประสิทธิภาพและปลอดภัย โดยประยุกต์ใช้ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ วิทยาศาสตร์สุขภาพ สังคมศาสตร์และศาสตร์อื่นที่เกี่ยวข้อง
- Sub PLO 1.1 Applying knowledge and skills – ประยุกต์ใช้ความรู้ด้านการแพทย์แผนไทยกับวิทยาศาสตร์ วิทยาศาสตร์สุขภาพ สังคมศาสตร์ และศาสตร์อื่นที่เกี่ยวข้องเพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อการบริการทางวิชาชีพ
- Sub PLO 1.2 Health service – ให้บริการทางการแพทย์แผนไทยแบบองค์รวมแก่ผู้รับบริการตามาตรฐานวิชาชีพ อย่างมีประสิทธิภาพและปลอดภัย
- PLO 2 NCDs & Elderly care - ใช้กระบวนการดูแลสุขภาพแก่ผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง และส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ แบบองค์รวมตามศาสตร์การแพทย์แผนไทย
- PLO 3 TTM Ethics & Personalities - ยึดมั่นในจรรยาบรรณวิชาชีพ และมีบุคลิกภาพที่เหมาะสม
- Sub-PLO 3.1 TTM ethics - ยึดมั่นในจรรยาบรรณวิชาชีพ ปฏิบัติตามหลักสิทธิมนุษยชน สิทธิเด็ก สิทธิผู้บริโภค และสิทธิผู้ป่วย
- Sub-PLO 3.2 Good personalities - แสดงออกถึงความเป็นผู้นำ ความรับผิดชอบ ซื่อสัตย์ มีวินัย และจิตสาธารณะ
- PLO 4 Research & Innovation – สร้างสรรค์ผลงานวิจัยหรือนวัตกรรมทางการแพทย์แผนไทยเพื่อพัฒนาบริการทางวิชาชีพ
- PLO 5 Communication - สื่อสารกับผู้ป่วย ญาติผู้ป่วย และทีมสหวิชาชีพ เพื่อวางแผนการรักษาที่เหมาะสมและมีประสิทธิภาพ รวมทั้งมีปฏิสัมพันธ์อย่างสร้างสรรค์กับผู้ร่วมงาน
- Sub PLO 5.1 Clinical communication - สื่อสารกับผู้ป่วย ญาติผู้ป่วย และทีมสหวิชาชีพ เพื่อวางแผนการรักษาที่เหมาะสมและมีประสิทธิภาพ
- Sub PLO 5.2 General communication, relationships & teamwork - สื่อสาร แสดงออกถึงปฏิสัมพันธ์อย่างสร้างสรรค์กับบุคคลทั่วไปและผู้ร่วมงาน และทำงานเป็นทีมได้
- PLO 6 Lifelong learning - เรียนรู้ตลอดชีวิตเพื่อแก้ไขปัญหาทางบริการวิชาชีพอย่างสร้างสรรค์และทันต่อสถานการณ์ ตลอดจนปรับตัวดำรงชีวิตอย่างผาสุกในสังคมอนาคตที่เปลี่ยนแปลงไป
- Sub PLO 6.1 Thinking skill - มีทักษะการคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ ทักษะการคิดคำนวณ และทักษะการคิดแก้ปัญหา
- Sub PLO 6.2 IT - เลือกใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการแสวงหาความรู้ วิเคราะห์ หรือนำเสนอข้อมูลได้ถูกต้องและเหมาะสม
- Sub PLO 6.3 Entrepreneurship - มีแนวคิดความเป็นผู้ประกอบการภายใต้บริบทของความพอเพียง
ผลลัพท์การเรียนรู้ที่คาดหวังของหลักสูตรการแพทย์แผนไทยบัณฑิต หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ.2559
- ด้านคุณธรรม จริยธรรม
- 1.1 มีระเบียบวินัย ซื่อสัตย์ มีความรับผิดชอบต่อตนเอง และเป็นผู้มีจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพ
- 1.2 มีคุณธรรม จริยธรรม และเป็นแบบอย่างที่ดีต่อผู้อื่นทั้งในการดำรงตนและการปฏิบัติงาน
- 1.3 ปฏิบัติตามกฎ ระเบียบ ข้อบังคับและหลักสิทธิมนุษยชน สิทธิเด็ก สิทธิผู้บริโภค สิทธิผู้ป่วย ตลอดจนสิทธิในการปฏิบัติการของแพทย์แผนไทย โดยคำนึงถึงความเป็นปัจเจกบุคคลและความหลากหลายทางวัฒนธรรม
- ด้านความรู้
- 2.1 มีความรู้และความเข้าใจในศาสตร์ที่เป็นพื้นฐานชีวิตและพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์สุขภาพที่ครอบคลุมทั้งวิทยาศาสตร์ มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ กฎหมายและการปกครองระบอบประชาธิปไตย
- 2.2 มีความรู้และความเข้าใจในหลักการและทฤษฏีการแพทย์แผนไทย การแพทย์พื้นบ้านไทยและสามารถบูรณาการกับศาสตร์อื่นที่เกี่ยวข้อง
- 2.3 มีความรู้และทักษะในกระบวนการวิจัย และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในวิชาชีพได้
- ด้านทักษะทางปัญญา
- 3.1 ตระหนักรู้ในศักยภาพและสิ่งที่เป็นจุดอ่อนของตน เพื่อพัฒนาตนเองให้มีความสามารถเพิ่มมากขึ้น สามารถนำไปสู่การปฏิบัติทางการแพทย์แผนไทย การสอน การแสวงหาความรู้ที่มีประสิทธิภาพ และการเป็นผู้นำที่เข้มแข็ง
- 3.2 สามารถสืบค้น รวบรวม วิเคราะห์ ประเมินความน่าเชื่อถือของข้อมูล สรุปจากแหล่งข้อมูลที่หลากหลาย และนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง และแก้ไขปัญหาอย่างมีวิจารณญาณ เพื่อให้มีคุณภาพในการให้บริการทางการแพทย์แผนไทย
- 3.3 สามารถใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ทางการวิจัย และนวัตกรรมที่เหมาะสมเพื่อพัฒนาวิธีการแก้ไขปัญหาให้มีประสิทธิภาพ สอดคล้องกับสถานการณ์และบริบททางสุขภาพที่เปลี่ยนไป
- ด้านความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ
- 4.1 มีมนุษยสัมพันธ์และปฏิสัมพันธ์อย่างสร้างสรรค์กับผู้ใช้บริการ ผู้ร่วมงาน ผู้บังคับบัญชา และทำงานเป็นทีมร่วมกับวิชาชีพอื่นได้
- 4.2 สามารถแสดงออกซึ่งภาวะผู้นำในการผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่ดีในองค์กรในสถานการณ์ที่หลากหลาย และสถานการณ์เฉพาะหน้า
- 4.3 มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ ต่อสังคม และการพัฒนาตนเอง วิชาชีพ องค์กร และสังคมอย่างต่อเนื่อง
- ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
- 5.1 สามารถประยุกต์ใช้หลักตรรกะ คณิตศาสตร์ และสถิติที่เกี่ยวข้อง เพื่อวิเคราะห์ข้อมูล แปลความหมายข้อมูล ทั้งเชิงปริมาณและคุณภาพ
- 5.2 สามารถสื่อสารภาษาไทยและภาษาอังกฤษได้อย่างมีประสิทธิภาพทั้งการพูด การฟัง การอ่าน การเขียน และเลือกใช้รูปแบบการสื่อสารข้อมูล การนำเสนอได้อย่างเหมาะสม
- 5.3 สามารถใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และสารสนเทศ เพื่อการแสวงหาความรู้ การรวบรวม การประมวล การวิเคราะห์ และการนำเสนอข้อมูล
- ด้านทักษะการปฏิบัติทางวิชาชีพ
- 6.1 มีความสามารถในการตรวจ การวินิจฉัย การบาบัด การรักษา การป้องกันโรค การส่งเสริมและการฟื้นฟูสุขภาพ แก่ผู้ใช้บริการด้วยกรรมวิธีทางการแพทย์แผนไทย ตามหลักกิจ 4 ประการด้านเวชกรรมไทย ได้แก่ รู้จักที่ตั้งที่แรกเกิดของโรค รู้จักชื่อของโรค รู้จักยารักษาโรค รู้จักเลือกยาให้เหมาะกับโรค
- 6.2 มีความสามารถในการเตรียมยา การผลิตยา การปรุงยา การจ่ายยา ตามหลักเภสัช 4 ประการ ได้แก่ เภสัชวัตถุ สรรพคุณเภสัช คณาเภสัช เภสัชกรรม และการควบคุมคุณภาพของยาแผนไทยให้มีคุณภาพตามหลักสากล
- 6.3 มีความสามารถในการตรวจ การวินิจฉัย การบำบัดและการรักษาสุขภาพของหญิงมีครรภ์ ทั้งในระยะตั้งครรภ์ และระยะหลังตั้งครรภ์ ด้วยกรรมวิธีทางการแพทย์แผนไทย และการทำคลอดในรายปกติที่ไม่มีภาวะแทรกซ้อน
- 6.4 มีความสามารถในการตรวจ การวินิจฉัย การบำบัดและการรักษาโรคแก่ผู้ใช้บริการได้อย่างถูกต้องและปลอดภัย โดยใช้ศิลปะการนวดไทย
อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา
- เป็นแพทย์แผนไทย ในสถานบริการสุขภาพทุกระดับ (ปฐมภูมิ ทุติยภูมิ ตติยภูมิ)
- เป็นนักวิชาการ หรือนักวิทยาศาสตร์ ในมหาวิทยาลัยของรัฐบาลหรือเอกชน หรือหน่วยงานอื่น ๆ ในภาคเอกชน
- ประกอบอาชีพอิสระเป็นแพทย์แผนไทย ให้บริการด้านสุขภาพในวิชาชีพ 4 ด้าน คือ เวชกรรมไทย เภสัชกรรมไทย การนวดไทย และการผดุงครรภ์ไทย
- ประกอบอาชีพอิสระด้านบริการ และผลิตภัณฑ์ส่งเสริมสุขภาพ การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ
ประมาณค่าใช้จ่ายในการศึกษา
นักศึกษาระดับปริญญาตรี เหมาจ่าย 22,000 บาท ต่อภาคการศึกษา หรือประมาณ 176,000 บาท ตลอดหลักสูตร
รายละเอียดหลักสูตร
สามารถอ่านรายละเอียดหลักสูตรและดาวน์โหลดข้อมูลหลักสูตรได้ที่